วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

Architect Idol - รุ่นพี่สถาปนิกลาดกระบัง


                             ในวันศุกร์ที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา ผมได้ได้มีโอกาสเดินทางไปสัมภาษณ์รุ่นพี่สถาปนิกของลาดกระบัง ที่บริษัท PAA studio โดยได้มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณ ภูชิชย์ กิติเวชกูล หรือ พี่โน  ซึ้งหัวข้อที่เราจะคุยกันในวันนี้นั้น จะเป็นเรื่องของ วิชาชีพสถาปนิก และเรื่องราวของพี่โน รุ่นพี่สถาปัตลาดกระบัง จากบริษัท PAA studio แห่งนี้คับ 
คุณ ภูชิชย์ กิติเวชกูล หรือ พี่โน
ฝ่ายดูแล และบริหารงาน สถาปัตยกรรม 
บริษัท PAA studio

ประวัติ และความเป็นมา

Q:สวัสดีครับพี่โน หัวข้อแรกอยากจะถามถึงความเป็นมา ทำมัยถึงอยากมาเป็นสถาปนิก และศึกษาที่ลาดกระบังหน่อยครับ

A:ในสมัยพี่โน ตอนนั้นยังเป็นระบบเอ็นทรานซ์ และเนื่องจากพี่ชอบวาดรูป ออกแบบต่างๆ จึงฝึกฝนมาตั้งแต่สมัยมัธยม และได้เลือกเอ็นทรานซ์ เข้าวิชาสถาปัตยกรรมในที่ต่างๆ จนในที่สุดก็เข้าผ่านเข้ามาในรั้วสถาปัตลาดกระบังแห่งนี้จนได้ 

เข้าศึกษาในปี พ..2528 
จบการศึกษาในปี พ..2532

A: หลังจากนั้นก็ได้ไปสมัครทำงานที่บริษัท A49 เป็นที่แรก ในสมัยนั้นบริษัท  A49 ยังเป็นบริษัทที่เต็มไปด้วย สมาชิกที่จบจากมหาลัยจุฬา ซึ้งมีน้อยมากที่มาจากลาดกระบัง และพี่ก็เป็นหนึ่งในนั้น ซึ้งพี่มีมุมมองว่า เราควรที่จะไปทำงานในที่ต่างๆ สัมผัสผู้คน บรรยากาศที่ต่างออกไปจากเดิมบ่าง เหมือนเป็นการเปิดโลกทรรศเราอย่างนึง ซึ้งพี่ก็ทำงานที่ A49 ถึง 17 ปี หลังจากนั้นได้ออกมาทำงานเป็น ฟรีแลนซ์  และหลังจากทำงานเป็นฟรีแลนซ์อยู่ 2 ปี ในที่สุดก็ มาทำงาน ณ PAA studio แห่งนี้ในปี พ..2553 จนถึงปัจจุบัน


การทำงานที่ PAA studio

Q:ในบริษัท PAA studio แห่งนี้ พี่โนทำงานอยู่ทางด้านไหนหรอครับ
A:ทุกวันนี้สเกลออฟฟิศยังค่อนข้างเล็ก งานส่วนใหญ่จะได้ทำหลายๆอย่าง ช่วยๆกันทำ ซึ้งส่วนใหญ่งานของพี่จะเป็นฝ่ายดูแล บริหารจัดการด้านต่างๆ วิเคราะห์คอนเซป คิดต้นแบบงาน แล้วส่งตัวงานให้รุ่นน้องที่เป็นฝ่ายต่างๆที่บริษัททำต่อไป ซึ้งส่วนใหญ่แล้ว บริษัท PAA studio จะทำงานในโปรแกรม sketchup เพื่อเป็นขั้นแรกในการนำเสนอ และขายแบบ

เทคนิคการนำเสนองานของ พี่โน
" การมีตัวเลือกให้ลูกค้า การเปรียบเทียบถึงข้อดี ข้อเสียของแต่ล่ะแบบ และสิ่งที่สำคัญคือจากจัดสรรเวลา เพื่อให้ได้งานที่ออกมาดูดีที่สุด "

ผลงานที่พี่โนภูมิใจ
Baan Rimtai
Chiang Mai

Q:แล้วนอกจากงานต่างๆนี้ พี่เคยเจออุปสรรคด้านไหนที่กวนใจบ่างมั้ยครับ

A:อุปสรรคที่มักจะเจอง่ายที่สุดคือ การเข้าใจแบบไม่ตรงกัน ระหว่างนักออกแบบ  กับผู้รับเหมา ในบางครั้งที่ผู้เราเหมาเป็นคนที่ค่อนข้างยึดติดกับหลักการทำงานของตัวเอง ทำให้เป็นเรื่องยากที่จะทำให้เค้ามาทำตามหลักวิธีการของเรา ซึ้งสุดท้ายก็จะกลายเป็นว่าเราต้องไปคอยแก้สิ่งต่างๆ ซึ้งการแก้ไขอะไรต่างๆเหล่านี้ย่อมตามมากับค่าราคาต่างๆ เหล่านี้ก็จะเป็นปัญหาเวลาทำงานเป็นนักออกแบบ

ข้อคิดในการทำงานของพี่โน
เราต้องรู้จักจัดสรรเวลา ให้มันพอดี ซึ้งบางครั้งที่เวลามีจำกัด เราต้องมีการวางแผน เพื่อให้งานออกมาสมบูรณ์ที่สุด เท่าที่ทำได้ในเวลาที่จำกัด ซึ้งบางสิ่งอย่างเราต้องรู้จากที่จะตัดใจไปบ่าง เพื่อให้งานขั้นตอนสุดท้ายออกมาเสร็จครบท่วน ทีมันจะไม่ดีมากที่สุดอย่างที่คาดหวัง แต่ก็ยังดีกว่างานที่ออกมาดี แต่มันไม่เสร็จ

งานที่ดี คืองานที่พอดี
ความงามคือความพอดี และความพอดีคือความงาม


มุมมองด้านอาชีพสถาปนิก

Q: พี่โนมีความคิดยังไงเกียวกับเทรนของอาชีพสถาปนิกในปัจจุบัน กับเทรนในอนาคตบ่างครับ

A: พี่ว่าโอกาสโตยังมีเยอะน่ะ เนื้องด้วยเนื้องานที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในมุมมองของพี่ เทรนของสถาปนิก ในอนาคต มันจะเป็นเหมือน บริษัทแอปเปิ้ล แนวคิดของมัน น้อยๆ แต่มันมีอิมแพค สร้างที่ไหนก็สวย มองถึงอะไรที่เรียบง่าย แต่สวย อะไรที่ไม่จำเป็นต้องเยอะ แต่ก็สามารถทำให้คนชอบได้ 

 สิ่งที่นิ่งๆ แต่มัน Classic มันจะเป็นสิ่งที่อยู่ได้นาน

Q: นอกจากนั้นแล้ว พี่คิดยังไงกับการที่ประเทศไทยของเรากำลังจะเปิด เสรีอาเซียน บ่างครับ

A:พี่ มองว่า ตัวสถาปนิกรุ่นใหม่ๆของไทยเรา จะมีปัญหาน่ะ เนื่องจากสถาปนิกไทยส่วนใหญ่มักไม่ค่อยออกไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้าน ยกเว้นสิงค์โปที่ไปกันปกติอยู่แล้ว แต่ในทางกลับกัน คนจากประเทศเพื่อนบ้านต่างๆจะเข้ามาทำงานในไทยมากขึ้น เนื่องจากเรื่องของค่าเงิน และชีวิตการเป็นอยู่ที่ดีกว่า ซึ้งจะเป็นปัญหาที่เราจะมีคู่แข่งด่านการงานที่มากขึ้น ท่ามุมมองเรายังอยู่แค่ภายในประเทศเราเอง

Q:แล้วสถาปนิกรุ่นใหม่ๆที่จบมา ในมุมมองของพี่โน เป็นยังไงบ่างครับ

A: ในมุมมองของพี่ พี่ยังไม่เคยเจอสถาปนิกรุ่นใหม่ๆที่จะมีความนี้ที่สามารถเอาแบบมานั้งคุยกันได้ ซึ้งพี่มองว่ามันยังคงอยู่ในระดับที่ธรรมดา ซึ้งการที่กล้าคิดกล้าทำ แต่ก็ยังคงต้องอยูในพื้นฐานของความจริง พี่อยากให้สถาปนิกรุ่นใหม่ๆ กล้าพูดกล้าทำ กล้าแสดงออก 

Q:สุดท้ายนี้ อยากจะให้พี่โนช่วยฝากข้อคิดถึงน้องๆที่เรียน และกำลังจะเรียนด้านสถาปัตยกรรม หน่อยครับ

A:เวลาจะทำอะไรสักอย่าง จงคิดให้เยอะ และต้องลงมือทำ และมองดูว่า สิ่งที่คิดกับกำสิ่งที่ลงมือทำนั้น ไปด้วยกันหรือเปล่า ซึ้งที่ทำมันต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเป็นเรื่องธรรมดา แต่ท่าเราไม่ได้ลงมือทำเราจะไม่รู้ว่าความคิดเราตรงไหนต้องปรับปรุ่งแก้ไข คิดให้เยอะ และลงมือทำครับ 

Q:วันนี้ต้องขอขอบคุณพี่โนมากน่ะครับ ที่ให้โอกาสผมได้มาสัมภาษณ์เรื่องต่างๆในวันนี้ ขอบคุณครับ ^ ^


Special 
Q:อยากให้พี่โน ช่วยเล่าบรรยากาศสมัยยังเรียนสถาปัตอยู่ที่ลาดกระบังหน่อยครับ 

A:ในสมัยพี่ กลุ่มของพี่จะเป็นแนวชอบทำงานกิจกรรมต่างๆ โดยเฉพาะกิกกรมที่ชอบมากที่สุดคงเป็น เตะบอลใต้ตึก น่ะ ตึก 4 ชั้น สมัยนั้นนี้เรียกได้ว่า ว่างตอนไหนเป็นอันเตะบอล อยู่ตลอด เนื่องจากสมัยนั้นกิจกรรมต่างๆมันน้อย และการเดินทางก็มี่แค่ รถไฟ กับ รถเมล์ อีกทั้งสมัยนั้นก็ไม่มีหอพักต่างๆเหมือนสมัยนี้ เพราะฉะนั้นเวลาที่จะเดินทางกลับบ้านในแต่ล่ะครั้งก็จะมีรอบของรถไฟ ซึ้งช่วงเวลาที่รถไฟนั้นแหละ พี่ก็จะมีกินดื่มกับเพื่อน เตะบอลไป ก่อนกลับบ้าน ก็ถือว่าเป็นกิจกรรมที่เพลิดเพลินมากเลยทีเดียวครับ

วันจันทร์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2558

Continuing Professional Development (CPD)

อาชีพสถาปนิก เป็นหนึ่งในในอาชีพที่ต้องคอยพัฒนาตัวเองอย่างไม่หยุดหยอน เพื่อก้าวทันยุคสมัยของโลกที่เปลี่ยนแปลงไปในทุกวัน ซึ้งในทุกวันนี้ อาชีพสถาปนิกมีอัตราการทำงานค่อนข้างสูง เนื่องจากปัจจัยด้านต่างๆ  ทำให้มีการแข่งขันมากมาย จึงทำให้ตัวสถาปนิกต้องคอยหาความรู้ใหม่ๆมาปรับใช้ในการทำงานอยู่เสมอ

ในประเทศไทยเราเอง ซึ้งกำลังเข้าสู่การเปิดเสรีการค้าสมาคมอาเซียน ที่เปิดโอกาสให้อาชีพต่างๆ มีโอกาสเดินทางไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านได้ง่ายดายยิ่งขึ้น และหนึ่งในนั้นก็คือ อาชีพสถาปนิก ทำให้ต่อไปในอนาคต การแข่งขันจะไม่ได้อยู่แค่ในประเทศของเรา แต่จะเปิดโอกาศให้สถาปนิกจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาแข่งขันได้ง่ายยิ่งขึ้น จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ จึงก่อให้เกิด โครงการ การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือ พวต. (Continuing Professional Development : CPD) ซึ้งจะเตรียมความพร้อมให้แก่อาชีพสถาปนิก ให้มีความรู้ความสามารถที่จะพัฒนาตัวเองไปในโลกที่ขับเคลื่อนอยู่เสมอนี้ได้


การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือ พวต.
 (Continuing Professional Development : CPD)

คือการพัฒนาผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมทุกระดับ โดยจัดให้มีการเข้าร่วมหลักสูตรหรือทำกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์หรือมีเนื้อหาสาระ  เพื่อยกระดับความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม


เป้าหมายของ CDP
- เน้นความเป็นมืออาชีพ
- เก็บบันทึกส่วนตัวของกิจกรรม CPD
- วางแผนอาชีพการพัฒนาตนเองในอนาคต
- หลักฐานความสามารถของคุณที่จะอยู่ใน สถานะที่ดี

การพัฒนาวิชาชีพศึกษาต่อเนื่อง (CPD) เป็นกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Life Long Learning) คือที่ทำให้สถาปนิกเพิ่มพูความรู้ใหม่ตลอดเวลา เพิ่มประสบการณ์ในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้มีความสามารถในการทำหน้าที่ตอบสนองสังคม และส่วนรวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีจริยธรรม และสำนึกรับผิดชอบต่อ ผลกระทบ ที่จะเกิดจากการปฏิบัติวิชาชีพของตน CPD ที่สภาสถาปนิกผลักดันให้เกิดขึ้น



ระบบ CPD การอาชีพสถาปนิก
ใน การประชุมใหญ่สามัญสภาสถาปนิก ประจำปี 2552 เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2552
ได้มีการพิจารณาและผ่านร่างข้อบังคับสภาสถาปนิก 2 ฉบับ ได้แก่

1) ร่าง ข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยคุณสมบัติของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม แต่ละระดับ การออกใบอนุญาต การต่อใบอนุญาต อายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต และการออกหลักฐานรับรองการได้รับใบอนุญาต

2) ร่าง ข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วยการพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพ สถาปัตยกรรมควบคุม

สาระสำคัญของร่างข้อบังคับ ฉบับนี้คือ กำหนด ให้ผู้ถือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพต้องเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ เพื่อเก็บหน่วย พวต. ไว้สำหรับการต่ออายุใบอนุญาต และใช้ประกอบการเลื่อนระดับเป็นสามัญสถาปนิกหรือวุฒิสถาปนิก ซึ่งหลักเกณฑ์โดยทั่วไปก็คือต้องสะสมหน่วยพวต. 12 หน่วยต่อปี ส่วนกิจกรรมพวต. ตามปกติได้แก่ การบรรยาย การฝึกอบรม ประชุมสัมมนา การศึกษาดูงาน หรือการอื่นในทำนองเดียวกัน แต่ก็ยังรวมไปถึงกิจกรรมอีกหลายอย่างที่เป็นการ contribute ให้แก่สังคม แก่วิชาชีพ เช่น การเป็นวิทยากร เขียนบทความหรือแต่งหนังสือตำราทางวิชาการ เสนอผลงานวิจัย การร่วมทำงานในองค์กรหรือสมาคมทางวิชาชีพ ฯลฯ


หลักการของ CPD
- ต้องการ 60 หน่วย พวต. ภายใน 5 ปี
- 12 หน่วย พวต. / ปี
- คะแนน 2-6 หน่วย ต่อ 1 กิจกรรม (คะแนนจะขึ้นอยู่กับกิจกรรมนั้นๆ)
- หลักสูตรไม่จ้องอนุมัติโดยกรรมการ แต่สามารถยื่นขอได้


ผู้จัดกิจกรรม CPD
ได้แก่ สถาบัน องค์กร หรือ หน่วยงาน ดังต่อไปนี้
1. สภา สถาปนิก
2. องค์กร หรือ สมาคมทางวิชาชีพที่สภาฯ ให้ความเห็นชอบ
3. สถาบันการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ที่ทำการสอนหลักสูตรสถาปัตยกรรมที่ได้รับการรับรองปริญญา อนุปริญญา ประกาศนียบัตร หรือวุฒิบัตร และ สภาฯ ให้ความเห็นชอบ
4. หน่วยงานของรัฐที่สภาฯ ให้ความเห็นชอบ
5. สถาบัน องค์กร หรือ หน่วยงานอื่นๆ ที่สภาฯ ให้ความเห็นชอบ ทั้งนี้ผู้จัดกิจกรรม CPD จะต้องเสนอแผนกิจกรรมเพื่อให้สภาฯ พิจารณาให้ความเห็นชอบ รายการกิจกรรม และ การกำหนดหน่วย CPD เสียก่อนที่จะเริ่มต้นกิจกรรมไม่น้อยกว่า 45 วัน


กิจกรรม CPD
กิจกรรมที่จัดขึ้นต่างๆมี ดังต่อไปนี้
1. การฝึกอบรม การประชุม สัมมนา หรือ อื่น ๆเช่น งานสถาปนิก ซึ่งในงานก็จะมีการสัมมนาต่างที่ทางสมาคมได้จัดไว้ ซึ่งสามารเก็บคะแนนสะสม และเรายังได้พบปะกับเพื่อนสมาชิก ได้แลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์กันอีกด้วย
2. เป็นวิทยากรในหลักสูตร หรือ กิจกรรมตามข้อ 1
3. เขียนบทความวิชาการ และ เผยแพร่ในการประชุมวิชาการ โดยมีเนื้อหาวิชาชีพ และสภาฯ ให้การรับรอง
4. เขียนหนังสือ / ตำราวิชาการที่เกี่ยว กับ วิชาชีพ และเผยแพร่ โดยสภาฯ ให้การรับรอง
5. เสนอผลงานวิจัย / วิชาการต่อที่ประชุมวิชาการโดยมีเนื้อหาวิชาชีพ และสภาฯ ให้การรับรอง
6. สำเร็จการศึกษาในระดับสูงขึ้น ในหลักสูตร / สาขาที่สภาฯ ให้การรับรอง
เช่นเข้าศึกษาต่อใน ระดับปริญญา ตรี โท เอก ในสถาบันการศึกษาสถาปัตยกรรม ทั้งในและต่างประเทศ สามารถใช้หลักฐานการจบการศึกษามาใช้บันทึกเป็นคะแนน พวต.ได้ รวมถึงการอบรม สัมมนา ต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อวิชาชีพ
7. เป็นกรรมการ / อนุกรรมการ / คณะทำงานในสภาฯ หรือองค์กรวิชาชีพที่สภาฯ ให้การรับรอง
8. เป็นครูพี่เลี้ยงในโครงการสถาปนิกฝึกหัด
9. กิจกรรมอื่น ๆ ได้แก่ การเป็นผู้แทนของสภาฯ องค์กรวิชาชีพ ที่สภาฯ รับรอง / การเป็นกรรมการ / อนุกรรมการ อื่น ๆ / การเข้าร่วมกิจกรรมจรรโลงวิชาชีพ – บริการสังคม / การเข้าร่วมประชุมใหญ่สภาฯ และสมาคมวิชาชีพ ซึ่งต้องเข้าร่วมไม่น้อยกว่า 1 ครั้ง ใน 5 ปี
10. การเข้าร่วมกิจกรรมบรรยาย ประชุม สัมมนาโดยองค์กร อื่น ๆ


โครงการ CPD ในปัจจุบัน
การแก้ไข CPD ในปี 2554

จากการสำรวจความคิดเห็นของสมาชิกสภาสถาปนิกเกี่ยวกับ ข้อบังคับสภาสถาปนิกว่าด้วย การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่องของผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมที่เป็นบุคคล ธรรมดา พ.ศ.2552 (พวต.) จากเวทีวิพากษ์ พวต. และการประชุมเสวนาต่างๆ ซึ่งสภาสถาปนิก และสมาคมวิชาชีพได้จัดขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และภูมิภาค ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2553 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2554 นั้น คณะกรรมการสภาสถาปนิกได้ทำการสรุปผล และมีมติให้เสนอร่างแก้ไขข้อบังคับฯ ดังกล่าว เพื่อเสนอต่อที่ประชุมใหญ่สามัญสถาปนิกในวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2554 ทั้งนี้ มีเนื้อหาของการแก้ไขใน 3 ประเด็นหลักดังนี้

1) ยกเลิกเรื่องหน่วยพวต.ที่ต้องใช้สำหรับการต่ออายุใบอนุญาตฯ และข้ออื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่อง ยังคงไว้สำหรับการสะสมหน่วยพวต.เพื่อการเลื่อนระดับฯ เท่านั้น
2) ‎ปรับปรุงแก้ไขหลักเกณฑ์ในการสะสมหน่วยพวต. โดยการสะสมหน่วยต่อปีให้ได้มากสุด 24 หน่วย (เดิม 20 หน่วย) สามารถสะสมหน่วยพวต.ปีเว้นปีได้ รวมทั้งยกเลิกหลักเกณฑ์ 2 ใน 3 หน่วยพวต.ที่สะสมที่ต้องมีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับวิชาชีพสถาปัตยกรรมในสาขาของตน
3) แก้ไขขอบข่ายกิจกรรมพวต. โดยเสนอให้กิจกรรมพวต.ประเภทอื่นๆ นอกจาก การบรรยาย อบรม สัมมนา ดูงาน และอื่นๆ ในทำนองเดียวกัน มีการประกาศกำหนดภายหลัง
ทั้งนี้ รายละเอียดที่เกี่ยวข้องอื่นๆ สภาสถาปนิกจะเสนอให้ทำการสอบถามความเห็นจากสมาชิกเพื่อปรับปรุงแก้ไขต่อไป

สรุป

การพัฒนาวิชาชีพต่อเนื่อง หรือ พวต. (Continuing Professional Development : CPD) เป็นเพียงอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการใฝ่หาความรู้ เป็นโครงการที่จัดสรรกิจกรรมต่างๆให้ตัวสถาปนิกได้มีการพัฒนาอยู่ตลอด ซึ้งในปัจจุบันเปิดโอกาสให้เป็นตัวเลือกสำหรับผู้ที่สนใจในการทำกิจกรรม ดังนั้น CPD จึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คอยพัฒนาอาชีพและกระตุ้นให้มีการขับเคลื่อนอยู่ตลอด นับว่าเป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อยเลยที่เดียว สำหรับอาชีพสถาปนิกของเราในทุกวันนี้



ข้อมูลอ้างอิง
http://tlp.excellencegateway.org.uk/tlp/stem/resource2/gettingstarted.html